วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 6
บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

วันพฤหัสบดี ที่ 12  กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เวลาเรียน 13.10 - 16.40 น.

.......กิจกรรมในวันนี้.......

อาจารย์ยกคลาสให้หนึ่งวัน จึงทำให้ไม่มีการเรียนการสอน เพราะเพื่อนๆพากันเซอรืไฟร์วันเกิดให้อาจารย์กัน










หนูขอให้อาจารย์สุขภาพแข็งแรง และก็มีความสุขมากๆนะคะ

ครั้งที่ 5
บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

วันพฤหัสบดี ที่ 5  กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เวลาเรียน 13.10 - 16.40 น.




......กิจกรรมในวันนี้.....

อาจารย์ให้วาดรูปดอกลิลลี่ และก็ให้วาดให้เหมือนที่สุด พร้อมกับบอกว่าสิ่งที่เห้นในภาพนักศึกษา เห็นอะไรบ้าง


ภาพจริง



ภาพวาด




.....เนื้อหาที่ได้เรียนรู้......


บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม

ครูไม่ควรวินิจฉัย
การวินิจฉัย หมายถึงการตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง
-จากอาการที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิด

ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
-เกิดผลเสียมากกว่าผลดี
-ชื่อเปรียบเสมือนตาประทับตัวเด็กตลอดไป
-เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ

ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
-พ่อแม่ของเด็กพิเศษ มักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา
-พ่อแม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว
-ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นคาดหวังในด้านบวก แต่ต้องไม่ให้เกิดความหวังผิดๆ
-ครูควรรายงานผู้ปกครองว่าเด้กทำอะไรได้บ้าง เท่ากับเป็นการบอกว่าเด็กทำอะไรไม่ได้
-ครูช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่จะช่วยให้เด็กพัฒนา

ครูทำอะไรบ้าง
-ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด้กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ
-ให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย
-สังเกตเด็กอย่างมีระบบ
-จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ

สังเกตอย่างมีระบบ
-ไม่มีใครสามารถสังเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่าครู
-ครูเห็นเด็กในสถานการณ์ต่างๆ ช่วงเวลายาวนานกว่า
-ต่างจากแพทย์ นักจิตวิทยา นักคลินิก มักมุ่งความสนใจอยู่ที่ปัญหา

การตรวจสอบ
-จะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร
-เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กได้ดีขึ้น
-บอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ

ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
-ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
-ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญชองเรื่องต่างๆได้
-พฤติกรรมบางอย่างชองเด็กไม่ได้ปรากฎให้เห็นเสมอ

การบันทึกการสังเกต
-การนับอย่างง่ายๆ
-การบันทึกต่อเนื่อง
-การบันทึกไม่ต่อเนื่อง

การนับอย่างง่ายๆ
-นับจำนวนคนรั้งของพฤติกรรม
-กี่ครั้งในแต่ละวัน กี่ครั้งในแต่ละชั่วโมง
-ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม

การบันทึกต่อเนื่อง
-ให้รายละเอียดได้มาก
-เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่ง หรือช่วงกิจกรรมหนึ่ง
-ดดยไม่ต้องเข้าไปแนะนำช่วยเหลือ

การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
-บันทึกลงบัตรเล็กๆ
-เป็นการบันทึกสั้นๆ เกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง

การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป
-ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน่้อยของความบกพร่องมากกว่าชนิดของความบกพร่อง
-พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่ได้พบในเด็กทุกคน ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ

การตัดสินใจ
-ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง
-พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้น ไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่






เพลง








ความรู้ที่ได้รับ

      ได้รู้ถึงบทบาทของครูในห้องเรียนรวม ว่าครูควรมีบทบาทและหน้าที่อย่างไรในการดูแลหรือสังเกตพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนในห้องเรียนรวม ครูควรเข้าใจถึงในตัวของเด็กและสามารถรู้ผลของการประเมินเด็กหรือการวินิจฉัยเป็นอย่างดี


ประเมินตนเอง


      แต่งกายเรียบร้อย ถูกระเบียบ ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังในสิ่งที่อาจารย์สอน


ประเมินเพื่อน

      เพื่อนๆแต่งกายเรียบร้อยกันทุกคน เข้าเรียนครบ เชื่อฟังในสิ่งที่อาจารย์สอน


ประเมินอาจารย์ผู้สอน


      อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย สะอาด สุภาพ พูดเพราะ สอนได้เข้าใจง่าย

ครั้งที่ 4
บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

วันพฤหัสบดี ที่ 29  มกราคม พ.ศ. 2558

เวลาเรียน 13.10 - 16.40 น.



วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน
เนื่องจากอาจารย์ไปสัมมนาวิชาการ


ครั้งที่ 3
บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

วันพฤหัสบดี ที่ 22  มกราคม พ.ศ. 2558

เวลาเรียน 13.10 - 16.40 น.



......เนื้อหาที่ได้เรียนในวันนี้......

รูปแบบการจัดการศึกษา
-การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education)
-การศึกษาพิเศษ (Special  Education)
-การศึกษาแบบเรียนรวม (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
-การศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)


การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
       เด็กที่มีความต้องการทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา

ความหมายของการศึกษาแบเรียนรวม (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
-การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป
-มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน
-ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ล่ะวัน
-ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมกัน

การเรียนร่วมบางเวลา (Integration)
-การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา 
-เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ 
-เป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้


การเรียนร่วมเต็มเวลา Mainstreaming
-การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน 
-เด็กพิเศษได้รับการจัดดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ 
-มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กเข้าใจซึ้งกันและกัน ตอบสนองความต้องการซึ้งกันและกันมีปฏิสัมพันธ์ซึ้งกันและกัน 
-เด็กปกติจะยอมรับความหลากหลายของมนุษย์ เข้าใจว่าคนเราจำเป็นต้องเหมือนกันทุกอย่าง ท่ามกลางความแตกต่างกัน มนุษย์เราต้องการความรัก ความสนใจ ความเอาใจใส่เช่นเดียวกันทุกคน

สรุปความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม
   เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ โดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษาและจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ล่ะบุคคล เด็กพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา การเรียนรวมเป็นแนวคิดทางการศึกษาอย่างหนึ่งที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคนโดยไม่มีการแบ่งว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติ หรือเด้กคนใดเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ


ฝึกร้องเพลง



บรรยากาศในห้องเรียน







ความรู้ที่ได้รับ

     นอกจากจะได้เรียนในเนื้อหาวิชาที่เรียนแล้ว ยังได้ทำแบบทดสอบ โดยผ่านกระบวนการคิดของเราและการใช้เทคนิคหรือวิธีการที่ผู้สอนได้ถ่ายทอดออกมาให้เราได้รับรู้ ก็ทำให้เราสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้กับวิชาอื่นๆที่เกี่ยวกับเด็กปฐมวัยได้ ทั้งยังเป็นแนวทางในการศึกษาในระดับต่อๆไปยิ่งขึ้น และเรามีความสามารถมากน้อยเพียงใดกับการนำเอาไปจัดประสบการณ์หรือกิจกรรมให้กับเด็กได้ปฐมวัย ที่ส่งเสริมต่อพัฒนาการของการเรียนรู้ที่ดี

ประเมินตนเอง
      
      -แต่งกายเรีบยร้อย ตั้งใจฟังในสิ่งที่อาจารย์กำลังสอน และจดโน๊ตตาม

ประเมินเพื่อน

       - เพื่อนๆตั้งใจเรียน และให้ความสนใจกับผู้สอนเป็นอย่างดีค่ะ แต่อาจจะมีเพื่อนบางกลุ่มที่ยังเสียงดัง จึงทำให้รบกวนเพื่อนบางคนที่เขาตั้งใจเรียน

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

        - อาจารย์แต่งกาย สะอาด สุภาพ เรียบร้อย พูดเพราะ สอนได้เข้าใจดีค่ะ






วันเสาร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 2
บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

วันพฤหัสบดี ที่ 15  มกราคม พ.ศ. 2558

เวลาเรียน 13.10 - 16.40 น.


......กิจกรรมในวันนี้......


     อาจารย์ได้เล่าถึงประสบการณ์การไปค่ายอาสากับพี่ปี4 ที่จังหวัดบุรีรัมย์ให้ฟัง ว่าเป็นอย่างไร  และได้ร่วมทำกิจกรรมอะไรบ้างในระยะเวลาที่ได้ไป ให้ฟังในห้องเรียนก็สนุกสนานดีค่ะ ทั้งยังมีเพลงมาให้นักศึกษาได้ฝึกร้องร่วมกัน อาจจะมีเพื่อนบางคนยังร้องไม่ค่อยได้หรือร้องเพี้ยนไปบ้างเล็กน้อย 


เพลง   นม
                                                                              ผู้แต่งอ.ศรนวล   รัตนสุวรรณ
นมเป็นอาหารดี มีคุณค่าต่อร่างกาย
ดื่มแล้วชื่นใจ ร่างกายแข็งแรง
ยังมีนมถั่งเหลือง ดื่มได้ดีและไม่แพง
ดื่มแล้วชื่นใจ ร่างกายแข็งแรง




บรรยายกาศในห้องเรียน




        นอกจากนี้อาจารย์ก็ยังได้เฉลยข้อสอบของการสอบปลายภาคที่ผ่านมา ว่าเราผิดตรงข้อไหนบ้าง และแต่ละข้อตอบว่าอะไร พร้อมกับให้ทำแบบทดสอบของความรู้เดิม ว่าตั้งแต่ที่เรียนมาเราจำอะไรได้บ้าง และจะทำได้หรือเปล่า



การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

     -เราสามารถนำความรู้ที่ได้จากการเรียนไปจัดประสบการณ์ให้เหมาะสมกับการจัดกิจกรรมในคราวต่อๆไปได้ พร้อมกับนำไปใช้ในชีวิตประจำวันให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและใช้ในการจัดการเรียนการสอนต่อไปได้

ประเมินตนเอง 

      -แต่งกายเรียบร้อย ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย และร่วมทำกิจกรรมกับเพื่อนๆในห้องได้เป็นอย่างดีค่ะ 

ประเมินเพื่อน

      -เพื่อนแต่ล่ะคน ร่วมกันร้องเพลงอย่างสนุกสนาน 

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

       -อาจารย์เบียร์น่ารัก  สอนนักศึกษาให้ได้เข้าใจง่าย และก็ให้คำแนะนำในทุกๆเรื่องได้เป็นอย่างดีค่ะ






ครั้งที่ 1
บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

วันพฤหัสบดี ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2558

เวลาเรียน 13.10 - 16.40 น.


......กิจกรรมของวันนี้......


   1.อาจารย์บอกรายละเอียดและเนื้อหาของรายวิชานี้ 
   2.ปฐมนิเทศ 
      -เรื่องคะแนน
      -บล็อก 30 คะแนน/รูปภาพ บรรยาย สรุปความรู้ เนื้อหากิจกรรมที่เรียน
      -คะแนนจิตพิสัย 20 คะแนน
      -การเข้าเรียน เลตได้ถึง 13.25 นาที
      -คะแนนเก็บ/การเขียนแผน IEP (แผนการศึกษาเฉพาะบุคคล) 20 คะแนน (รายบุคคล)
      -งานในห้อง 30 คะแนน
      -เรื่องการแต่งกาย ควรแต่งอย่างให้ถูกระเบียบและเหมาะสม





ประเมินตนเอง

        -แต่งกายเรียบร้อย สะอาด เข้าเรียนตรงเวลา

ประเมินเพื่อน

        -เพื่อนๆแต่งกายเรียบร้อย 

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

         -อาจารย์แต่งกายสะอาด สุภาพ เรียบร้อย น่ารัก พูดเพราะค่ะ